วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ศาสนาพุทธ


ศาสนาพุทธ   
    


       พุทธ หมายถึง ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
     องค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระรัตนตรัย หมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


พระพุทธ

พระธรรม

พระสงฆ์

นิกายทางพระพุทธศาสนา
 แบ่งได้ดังนี้
1. นิกายเถรวาท มุ่งให้ปฏิบัติตนเพื่อเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากความทุกข์
2. นิกายมหายานวิวัฒนาการจากนิกายมหาสังฆวาทโดยผสมผสานเข้ากับ
    หลักคำสอนของนิกายอื่น เช่น นิกายเถรวาท

คัมภีร์สำคัญของศาสนาพุทธ
 คือ พระไตรปิฎก ได้แก่
1. พระวินัยปิฎก มีสาระเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์
2. พระสุตตันตปิฎก มีสาระเกี่ยวกับเทศนาของพระพุทธเจ้าและพระสาวก
3. พระอภิธรรมปิฎก มีสาระเกี่ยวกับหลักธรรมทางด้านวิชาการ

หลักคำสอนที่สำคัญในศาสนาพุทธ

1.ไตรลักษณ์
- อนิจจาคือ ความไม่เที่ยงแท้
- ทุกขตาคือ ความทนอยู่ไม่ได้
- อนัตตาคือ ภาวะที่ไม่ใช่ตัวตน
2.ขันธ์ 5 เรียกว่า "เบญจขันธ์" หมายถึง องค์ประกอบของชีวิตอันประกอบด้วย
- รูปขันธ์คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
- นามขันธ์คือ ส่วนที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ เวทนา   สัญญา สังขาร และวิญญาณ
3.อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ อริยสัจเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา ได้แก่
- ทุกข์คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
- สมุทัยคือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์
- นิโรธคือ ความจริงว่าด้วยความดับทุกข์
- มรรคคือ ความจริงว่าด้วยปฏิปทา หรือวิถีทางแห่งความทุกข์
มรรคมีองค์ 8 หรือเรียกว่า มรรค 8 โดยยึดหลักการเดินในทางสายกลาง หรือ "มัชฌิมาปฏิปทา" ได้แก่
- สัมมาทิฐิความเห็นชอบ
- สัมมาสังกัปปะความดำริชอบ
- สัมมาวาจาเจรจาชอบ
- สัมมากัมมันตะการทำงานชอบ
- สัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพชอบ
- สัมมาวายามะพยายามชอบ
- สัมมาสติตั้งสติชอบ
- สัมมาสมาธิตั้งใจชอบ
มรรค 8 เมื่อจัดเข้าในระบบการฝึกอบรม เรียกว่า "ไตรสิกขา"

พิธีกรรมสำคัญทางศาสนาพุทธ

1. พิธีบรรพชาและพิธีอุปสมบท
2. พิธีเข้าพรรษา ซึ่งกำหนดไว้ 2 ระยะ คือ
- วันเข้าพรรษาแรก เรียกว่า ปุริมพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 8
- วันเข้าพรรษาหลัง เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 9
3. พิธีกฐิน
4. พิธีปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้สงฆ์ตักเตือนกันได้
5. พิธีแสดงอาบัติ

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ

1. วันมาฆบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
2. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ
    ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
3. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 เป็นวันแรกที่มีการเกิดพระรัตนตรัย

5 ความคิดเห็น: