วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลาม 
    
    

         อิสลาม หมายถึง การยินยอมต่อพระผู้เป็นเจ้า
ศาสนาอิสลามเกิดในดินแดนอาหรับโดยมี พระอัลเลาะห์เป็นพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้สร้าง 
ผู้ค้ำจุน ผู้ฟื้นฟูโลกมนุษย์ มีศาสดา คือ มูฮัมหมัด

นิกายสำคัญในศาสนาอิสลาม

1. นิกายซุนนี แปลว่า จารีต ชาวมุสลิมจะเคร่งครัดตามแนวทางของคัมภีร์อัลกุรอ่าน
    และเคารพต่อกาหลิบ ประเทศที่นับถือนิกายนี้ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เป็นต้น
2. นิกายชีอะห์ แปลว่า พรรคพวก เป็นนิกายแรกของอิสลามที่แยกตัวออกจากนิกาย
    ชีอะห์จะเคารพศรัทธาในตัวอาลี
3. นิกายวาฮาบี เน้นคัมภีร์อัลกุรอ่านและวจนะของท่านศาสดา ผู้ให้กำเนิดนิกายนี้ คือ มูฮัมหมัด
    อิมบนอับดุล- วาฮัม ชาวอาหรับ
4. นิกายคอวาริจ หมายถึง ผู้ต่อต้านเป็นกลุ่มที่มีความคิดรุนแรงประกาศยอมเชื่อฟัง
    เฉพาะอัลเลาะห์เท่านั้น
5. นิกายอิสมาอีลลี ผู้ให้กำเนิดนิกายนี้ คือ อิสมาอีล์ นับถือในประเทศอิยิปต์
6. นิกายซูฟี แปลว่า ขนสัตว์ ผู้ถือนิกายนี้จะต้องแต่งตัวด้วยขนสัตว์ ประพฤติสันโดษ 
    นับถือในอิรัก อินเดีย ตุรกี เป็นต้น

คัมภีร์ของศาสนา
 คือ คัมภีร์อัลกุรอ่าน ที่ชาวมุสลิมถือเป็นคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์  
                             ทุกอย่างที่มีในคัมภีร์ล้วนบริสุทธิ์ทั้งสิ้น


หลักคำสอนของอิสลาม 
แบ่งได้ดังนี้
1. หลักความศรัทธา 6 ประการ คือ ความเชื่อในเรื่องดังนี้
- พระเจ้าสูงสุดองค์เดียว คือ อัลเลาะห์
- พระลิขิต หมายถึง พระเจ้าลิขิตชีวิตมนุษย์
- เทพบริวาร หมายถึง คนรับใช้พระเจ้า
- วันพิพากษาโลก หมายถึง วันที่พระเจ้าทำลายโลกและตัดสินความดี  
  ความชั่วของมนุษย์
- คัมภีร์ หมายถึง หนังสือที่รวบรวมคำสอนคำพูดของพระเจ้า
- ศาสนทูต หรือศาสดาต่างๆ ชาวมุสลิมจะต้องให้เกียรติยกย่องบรรดาศาสดาต่างๆ
  อย่างเท่าเทียมกัน
2. หลักปฏิบัติ 5 ประการ ได้แก่
- ปฏิญาณตน คือ การปฏิญาณต่อพระเจ้า
พิธีปฏิญาณตน

- ละหมาด คือ การไหว้พระเจ้าวันละ 5 หน

พิธีละหมาด

- ซะกาด คือ การบริจาคทาน

พิธีซะกาด

- ศีลอด ปฏิบัติในเดือนรอมาฎอน คือการอดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อให้รู้ถึง
  ความทุกข์ แล้วช่วยเหลือคนจนต่อไป

พิธีศีลอด

- พิธีฮัจญ์ คือ การเดินทางไปแสดงสัตยาบันของพระเจ้าที่เมกกะ
  ประเทศซาอุดิอาราเบีย


พิธีฮัจญ์ 

**ฮิจเราะห์ศักราช เริ่มเมื่อมูฮัมหมัดอพยพจากเมกกะไปเมืองเมดินา

ศาสนาคริสต์


ศาสนาคริสต์


     
     คริสต์ หมายถึง ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของพระเจ้า

ความเป็นมา

ศาสนาคริสต์และศาสนายิวมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดโดยศาสนาคริสต์มีรากฐานมาจากศาสนายิว ซึ่งศาสนายิวสอนให้ชาวยิวยึดมั่นในพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวาห์และทรงประทานบัญญัติ 10 ประการ ให้แก่โมเสส เพื่อนำไปสั่งสอนชาวยิว ศาสนาคริสต์กำเนิดในดินแดนปาเลสไตน์

สมณศักดิ์ทางศาสนาคริสต์

1. พระสันตะปาปา เป็นประมุขสูงสุด ผู้สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโต 
2. บาทหลวง
3. นักบวชชายและหญิง ในเมืองไทยเรียก ซิสเตอร์และบราเตอร์

นักบวชศาสนาคริสต์


นิกายของศาสนาคริสต์

1. นิกายคาทอลิค
- เน้นว่าต้องเป็นผู้สืบทอดคำสอนจากพระเยซู
- ประมุข คือ สันตะปาปา และมีพระที่เรียกว่า บาทหลวง
- เป็นนิกายเดียวที่เชื่อเรื่องนักบุญ และแดนชำระวิญญาณผู้ตาย
- รูปเคารพ คือ ไม้กางเขนที่พระเยซูถูกตรึงอยู่
2. นิกายออร์ทอดอกซ์
- แยกจากคาทอลิคเพราะเหตุผลทางการเมือง
- รูปเคารพ คือ ภาพ 2 มิติ
3. นิกายโปรเตสแตนท์ เช่น ลัทธิลูเธอร์น และแอกลิแคน
- ไม่พอใจการกระทำคำสอนบางประการของสันตะปาปา
- เน้นคัมภีร์ ไม่มีนักบวช
- รับศีลศักดิ์สิทธิ์เพียง 2 ศีล คือ ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท

คัมภีร์ทางศาสนาคริสต์ มี 2 ส่วน คือ

1. คัมภีร์เก่า ( Old Testament ) หรือพันธสัญญาเดิมเป็นบันทึกเรื่องราวก่อนพระเยซู
    ประสูติ
2. คัมภีร์ใหม่ ( New Testament ) หรือพันธสัญญาใหม่เป็นบันทึกเรื่องราวหลังจาก
    ที่พระเยซูประสูติ

คัมภีร์ไบเบิ้ล

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาคริสต์

1. บาปกำเนิด คือ บาปที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด
2. ตรีเอกภาพ คือ พระเจ้าสูงสุดพระองค์เดียว แต่มี 3 สถานะ คือ พระบิดา พระบุตร
    และพระจิต
3. ความรัก เป็นกฎทองคำของศาสนาคริสต์ กล่าวว่า "จงรักพระเจ้าสุดใจ สุดความคิด
    สุดกำลัง" และ "จงรักเพื่อนบ้านเหมือนเจ้ารักตัวเอง"
4. อาณาจักรพระเจ้า คือ สภาวะจิตใจที่บริสุทธิ์

พิธีกรรมสำคัญทางศาสนาคริสต์

1. ศีลล้างบาป กระทำเพียงครั้งเดียวเมื่อเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เพื่อล้างบาปกำเนิด


2. ศีลกำลัง ทำเพื่อตัวเองและยึดมั่นความเป็นคริสต์


3. ศีลมหาสนิท ทำเพื่อระลึกถึงชีวิตและคำสอนของพระเยซู


4. ศีลแก้บาป ทำเพื่อสารภาพบาปด้วยความสำนึกผิด


5. ศีลเจิมคนไข้ ทำเพื่อให้สติและกำลังใจแก่ผู้ป่วยหนัก


6. ศีลบวช สำหรับชายที่มีคุณสมบัติจะบวช และต้องการอุทิศตนบวชเพื่อศาสนา


7. ศีลสมรส คือ พิธีแต่งงานต่อหน้าพระเจ้า


ศาสนาพุทธ


ศาสนาพุทธ   
    


       พุทธ หมายถึง ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
     องค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระรัตนตรัย หมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


พระพุทธ

พระธรรม

พระสงฆ์

นิกายทางพระพุทธศาสนา
 แบ่งได้ดังนี้
1. นิกายเถรวาท มุ่งให้ปฏิบัติตนเพื่อเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากความทุกข์
2. นิกายมหายานวิวัฒนาการจากนิกายมหาสังฆวาทโดยผสมผสานเข้ากับ
    หลักคำสอนของนิกายอื่น เช่น นิกายเถรวาท

คัมภีร์สำคัญของศาสนาพุทธ
 คือ พระไตรปิฎก ได้แก่
1. พระวินัยปิฎก มีสาระเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์
2. พระสุตตันตปิฎก มีสาระเกี่ยวกับเทศนาของพระพุทธเจ้าและพระสาวก
3. พระอภิธรรมปิฎก มีสาระเกี่ยวกับหลักธรรมทางด้านวิชาการ

หลักคำสอนที่สำคัญในศาสนาพุทธ

1.ไตรลักษณ์
- อนิจจาคือ ความไม่เที่ยงแท้
- ทุกขตาคือ ความทนอยู่ไม่ได้
- อนัตตาคือ ภาวะที่ไม่ใช่ตัวตน
2.ขันธ์ 5 เรียกว่า "เบญจขันธ์" หมายถึง องค์ประกอบของชีวิตอันประกอบด้วย
- รูปขันธ์คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
- นามขันธ์คือ ส่วนที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ เวทนา   สัญญา สังขาร และวิญญาณ
3.อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ อริยสัจเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา ได้แก่
- ทุกข์คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
- สมุทัยคือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์
- นิโรธคือ ความจริงว่าด้วยความดับทุกข์
- มรรคคือ ความจริงว่าด้วยปฏิปทา หรือวิถีทางแห่งความทุกข์
มรรคมีองค์ 8 หรือเรียกว่า มรรค 8 โดยยึดหลักการเดินในทางสายกลาง หรือ "มัชฌิมาปฏิปทา" ได้แก่
- สัมมาทิฐิความเห็นชอบ
- สัมมาสังกัปปะความดำริชอบ
- สัมมาวาจาเจรจาชอบ
- สัมมากัมมันตะการทำงานชอบ
- สัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพชอบ
- สัมมาวายามะพยายามชอบ
- สัมมาสติตั้งสติชอบ
- สัมมาสมาธิตั้งใจชอบ
มรรค 8 เมื่อจัดเข้าในระบบการฝึกอบรม เรียกว่า "ไตรสิกขา"

พิธีกรรมสำคัญทางศาสนาพุทธ

1. พิธีบรรพชาและพิธีอุปสมบท
2. พิธีเข้าพรรษา ซึ่งกำหนดไว้ 2 ระยะ คือ
- วันเข้าพรรษาแรก เรียกว่า ปุริมพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 8
- วันเข้าพรรษาหลัง เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 9
3. พิธีกฐิน
4. พิธีปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้สงฆ์ตักเตือนกันได้
5. พิธีแสดงอาบัติ

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ

1. วันมาฆบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
2. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ
    ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
3. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 เป็นวันแรกที่มีการเกิดพระรัตนตรัย

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู



- ที่มาไม่ปรากฏนามของศาสนา ก่อตั้งโดยชาวอารยัน
- ศาสนาพราหมณ์มีคัมภีร์พระเวท พราหมณ์ และวรรณะทั้ง 4
- ศาสนาฮินดู เริ่มนับถือพระเจ้า คือ ตรีมูรติ และมีความคิดเรื่องปรัชญา กรรม และโมกษะ
( ยุคอวตารเป็นยุคที่เน้นองค์พระนารายณ์ )

ความเชื่อของพราหมณ์ - ฮินดู

1. ตรีมูรติ คือ พระเจ้าสูงสุดองค์เดียว แต่ประกอบด้วย 3 สภาวะ คือ พรหม ศิวะ วิษณุ
2. ปรมาตมัน คือ วิญญาณที่เกิดเองเป็นที่มาของอาตมัน
3. อาตมัน หมายถึง วิญญาณย่อยที่เกิดจากปรมาตมัน
4. การเวียนว่ายตายเกิด ( สังสาระ ) ย่อมเป็นไปตามกรรมจนกว่าจะพ้นกรรมและเข้าสู่โมกษะ
5. โมกษะ เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนา หมายถึง ภาวะที่อาตมันเข้าไปรวมกับ
     ปรมาตมันทำให้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป วิธีการเข้าสู่โมกษะ ได้แก่
- กรรมโยคะคือ วิธีที่ใช้การกระทำ เช่น บูชายัญ
- ชญานโยคะคือ วิธีที่ใช้สมาธิและปัญญา
- ภักติโยคะคือ วิธีที่ใช้ความจงรักภักดีต่อพระเจ้า
6. อาศรม 4 คือ ขั้นตอนของชีวิตในช่วงต่างๆ แบ่งเป็น
- พรหมจารีได้แก่ วัยเล่าเรียน
- คฤหัสถ์ได้แก่ วัยครองเรือน หาทรัพย์สิน เลี้ยงดูบุตรและภรรยา
- วนปรัสถ์ได้แก่ วัยชรา วัยเข้าหาธรรมะ
- สันยาสีได้แก่ วัยที่มุ่งเข้าหาโมกษะ

คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู แบ่งได้ดังนี้

1. คัมภีร์พระเวท แบ่งเป็น
- ฤคเวทคือ บทสรรเสริญอ้อนวอนพระเจ้า
- ยชุรเวทคือ คู่มือประกอบพิธีกรรม
- สามเวทคือ คัมภีร์ถวายน้ำโสมขับกล่อมเทพเจ้า
- อาถรรพเวทคือ คัมภีร์เวทย์มนต์คาถา
2. ภควคีตา เป็นยอดปรัชญาฮินดู

พิธีกรรมสำคัญ
 ได้แก่ ศราทธ์ คือ พิธีการบูชาบรรพบุรุษ

นิกายสำคัญของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

1. นิกายพรหมนับถือพระพรหมเป็นสำคัญ
2. นิกายไวษณพนับถือพระนารายณ์เป็นสำคัญ
3. นิกายไศวะนับถือพระศิวะเป็นสำคัญ

พระพรหม
(พระผู้สร้าง)

 พระนารายณ์
(พระผู้รักษา)

พระศิวะ
(พระผู้ทำลาย)

ศาสนาสากล

ศาสนาสากล

ศาสนา ( Religion ) หมายถึง ความผูกพันระหว่างมนุษย์กับสิ่งสูงสุดหรือพระเจ้า
หรือคือลัทธิความเชื่ออันนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ และพบสุขนิรันดร์

องค์ประกอบของศาสนา มีดังต่อไปนี้
1. คำสอนทั้งระดับศีลธรรม และระดับปรมัตถ์
2. พิธีกรรม
3. สถาบันและคัมภีร์
4. ความศักดิ์สิทธิ์
5. ศาสดา

มูลเหตุของการเกิดศาสนา

     ศาสนาเกิดขึ้นจากอวิชชา ตลอดจนความกลัว และความต้องการศูนย์รวมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมถึงต้องการให้สังคมสงบสุข ประโยชน์ของศาสนา คือ ทำให้สังคมและตัวเองสงบสุข

ประเภทของศาสนา
1. ศาสนาระดับท้องถิ่น เช่น ศาสนาชินโต ศาสนายูดาห์
2. ศาสนาระดับสากล เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินด

ศาสนาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. เอกเทวนิยม เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว เช่น คริสต์ อิสลาม
2. พหุเทวนิยม เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ เช่น ฮินดู
3. อเทวนิยม    เป็นศาสนาที่ไม่มีพระเจ้า เช่น พุทธ